วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการทำ Analysis



วิชา 876214 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 2

(GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM 2)

เสนอ



 ผศ.ดร.ณรงค์  พลีรักษ์

อาจารย์ พิชิตพร ผลเกิดดี
ขั้นตอนการทำ Analysis
1. ไปที่ Catalog สร้าง Floder เพื่อเซฟงานของเรา จากนั้น ตั้งชื่อโฟลเดอร์ที่เราต้องการ
2. จากนั้นไปที่ LAB3 เลือกข้อมูล world โดยนำข้อมูล Chaopaya.shp คัดลอกไปยัง Floder ที่เราสร้างไว้
3. นำข้อมูล Chaopaya ออกมา จากนั้น ใส่หน่วยให้กับแผนที่ โดยไปที่ View -> Data Frame Properties ใส่ข้อมูลที่ Units ให้หน่วยเป็น Meters ทั้งสองช่องข้อมูล -> OK
4. เพิ่มมาตราส่วนไปที่ Customize -> Customize This List จากนั้นใส่มาตราส่วนที่เราต้องการ -> ADD -> OK
5. จากนั้นกำหนดพิกัดเมื่อนำเข้าข้อมูล Chaopaya โดยไปที่ Arc Toolbox -> Data Management Tools -> Projections and Transformations -> Define Projection ช่อง Input Dataset จะใช้ข้อมูล Chaopaya ส่วนช่อง Coordinate Systems จะใส่พิกัดโดยไปที่ Projected Coordinate System -> UTM -> WGS 1984 –Northern Hemisphere เลือก WGS 1984 UTM ZONE 47N -> OK และกด OK อีกครั้ง
6. ไปที่ข้อมูล Chaopaya คลิกขวา Properties -> Source ตรง Projected Coordinate Systems จะปรากฏข้อมูลพิกัดที่เราได้เลือกไว้ จากนั้นกด OK
7. ต่อไปจะเป็นการแปลงระบบพิกัดภูมิศาสตร์ไปที่ LAB3Analysis -> LAB3.1 -> World คัดลอกข้อมูล country.shp ไปไว้ในโฟลเดอร์ที่เราสร้างไว้
8. นำข้อมูล country ออกมา จากนั้นไปที่ Arc Toolbox -> Data Management Tools -> Projections and Transformations -> Project
9. ช่อง Input Dataset เลือกข้อมูล country ช่อง Output Coordinate System จะใส่พิกัด โดยไปที่ Projected Coordinate Systems -> UTM -> WGS 1984 -> Northern Hemisphere -> WGS 1984 UTM ZONE 47N -> OK ช่อง Output Dataset บันทึกงานในโฟลเดอร์ที่เราต้องการ จากนั้นกด SAVE -> OK
10. เมื่อทำการประมวลผลเสร็จ เปิดไฟล์ที่เซฟขึ้นมา
11. ต่อไปจะเป็นการแปลงพื้นหลักฐาน เปิดข้อมูล Province และ Bangkok ขึ้นมา
12. เมื่อซูมเข้าไปในภาพจะเห็นได้ว่าข้อมูลยังทับกันไม่สนิท
13. จากนั้นจะทำข้อมูลให้ทับสนิทกัน โดยเข้าไปที่ View -> Data Frame Properties -> Coordinate System -> Layers -> WGS_1984_UTM_ZONE_47N ไปที่ Transformations ช่อง Convert from เลือก GCS_Indian_1975 ช่อง Into เลือก GCS_WGS_1984 กด New ใส่ค่า X Y Z X= 206 Y= 837 Z= 295 -> OK
14. ข้อมูลทั้ง 2 ข้อมูลจะทับกันสนิท
15. การทำAppend ไปที่ LAB3 -> Lab3Analysis -> LAB3.2 -> Data คัดลอกข้อมูล LU5038i.shp และ LU5038iv.shp ไปไว้ใน Floder ที่เราสร้างไว้
16. นำข้อมูลทั้งสองออกมา
17. ไปที่ Arc Toolbox -> Data Management Tools -> General -> Append ช่อง Input Datasets ใส่ LU5038iv ช่อง Target Dataset ใส่ LU5038i ช่อง Schema Type ใส่ NO_TEST -> OK
18. นำข้อมูล Erase โดยใช้ข้อมูล PathumThani เลือกข้อมูล SOILS และ WATER เปลี่ยนสีตามใจชอบ
19. ไปที่ Arc Toolbox -> Analysis Tools -> Overlay -> Erase ช่อง Input Features เลือก SOILS ช่อง Erase Features เลือก WATER ช่อง Output Feature Class ไปที่ Floder ที่ต้องการเซฟ กด SAVE -> OK
20. การจัดกลุ่มข้อมูลใหม่หรือ Classify โดยใช้ข้อมูล Prachinburi เลือก Prachindem30m เปลี่ยนสีตามใจชอบ
21. ไปที่ Arc Toolbox -> Spatial Analyst Tools -> Reclass -> Reclassify ช่อง Input Raster ใช้ข้อมูล Prachindem30m ช่อง Reclass field ใช้ Value
22. ใช้ class ทั้งหมด 3 class ไปที่ classify เลือก classes : 3 Method : Manual ช่อง Break Values ช่อง 1 : 400 ช่อง 2 : 1000 แล้วกด OK ช่อง Output Raster เซฟงานใน Floder ที่เราต้องการ กด SAVE -> OK เป็นอันเสร็จ




วิดิโอขั้นตอนการทำ Analysis


จัดทำโดย



นางสาวชนากานต์ อารมณ์เรืองชัย รหัสนิสิต 58670175 กลุ่ม 3302


นางสาวชนาพร พนานิธิมงคล รหัสนิสิต 58670176 กลุ่ม 3302


นางสาวทิพรัตน์           แซ่แพ้     รหัสนิสิต 58670195  กลุ่ม 3302


นางสาวประภัสสร        พงษ์วิเชียร    รหัสนิสิต 58670204 กลุ่ม 3302


นางสาวภัทรกร      การะภักดี  รหัสนิสิต 58670222  กลุ่ม 3302


คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น